ข้อควรระวังในการใช้ปูน Type 4 ไม่ว่ายี่ห้อใดๆ

1. ผสมน้ำมากเกินไป
การผสมน้ำมากเกินไป ไม่ตรงตามสัดส่วนที่คู่มือของสินค้าแนะนำ มีผลทำให้ความแข็งแรงของปูนลดลง เนื่องจากว่า ปริมาณน้ำที่เกินมาจะระเหยออกจากโมเดลหลังจากที่โมเดลแข็งตัวแล้วในเวลา 24 ชั่วโมงต่อมา ส่งผลทำให้โมเดลมีขนาดหดตัวลง ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และส่งผลให้โครงของชิ้นงานไม่มี retentions ที่ดีและไม่คงที่

2. รีบผสมปูนเร็วเกินไป
เทคนิคในการผสมปูน มีผลเกี่ยวข้องกับการขายตัวของโมเดลหลังจากที่โมเดลแข็งตัวแล้ว การผสมปูนเร็วเกินไป จะทำให้โมเดลนั้นขยายตัวมากกว่าเดิมหลังจากโมเดลเซ็ตตัว (Garber DK 1985) การผสมปูนในสัดส่วนน้ำและปูน ในความเร็วและระยะเวลาที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่ควรพึงระวังเพื่อที่จะให้ได้ผลงานโมเดลที่แม่นยำ

3. ผสมน้ำน้อยเกินไป จะทำให้โมเดลมีรูปร่างที่ผิดเพี้ยน
อัตราส่วนระหว่างปูนกับน้ำ ควรเป็นไปตามคำแนะนำในวิธีการใช้งาน หากใส่ปูนมากเกินไป หรือน้ำน้อยเกินไป จะทำให้ลดประสิทธิภาพการไหลลื่นของส่วนผสมเวลาเทลง impression และเกิดฟองอากาศได้ง่าย หนำซ้ำจะทำให้โมเดลมีรูปร่างที่ไม่แม่นยำเมื่อส่วนผสมแข็งตัว หากผสมได้สัดส่วนที่พอดีตามที่คำแนะนำของโปรดักได้เขียนไว้ เนื้อปูนจะละเอียด ไหลลง impression ได้ทั่วถึง

4. รีบเทปูนเร็วเกินไป
หากเทปูนลง impression เร็วเกินไป สามารถเกิดฟองอากาศได้ง่าย ควรเทลง impression ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป

5. รีบนำโมเดลออกเร็วเกินไป โดยไม่รอให้ถึงเวลาที่กำหนด
หากนำโมเดลออกจาก impression เร็วเกินไป มีผลกับการแข็งตัวของโมเดล ก่อนนำโมเดลออกจาก impression ควรแน่ใจว่าปูนแห้งสนิทดีแล้ว ควรตรวจสอบระยะเวลา set ตัวของปูนที่วิธีการใช้งานที่ระบุข้างถุงปูน โดยทั่วไปแล้ว โมเดลที่ถูกปล่อยให้แห้งสนิท จะมีความแข็งแรงได้มากกว่า 2 เท่าของโมเดลที่ยังเปียกอยู่ หากเป็นไปได้ควรรอถึง 24 ชั่วโมง สำหรับงานที่มีรูปร่างลักษณะบอบบาง (Morris JC, 1997)
หากเราเป็นช่างทันตกรรม จะเห็นได้ว่า ทันตแพทย์นั้นจะคาดหวังให้พวกเรามีความรับผิดชอบในการประดิษฐ์งานฟันให้แม่นยำเพื่อให้งานของเรานั้นถูกนำไปสวมใส่ในปากคนไข้ได้อย่างพอดี ไม่ทำให้คนไข้ต้องเจ็บเพิ่ม การระมัดระวังข้อผิดพลาดจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ
ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆจาก Research Article โดย ผศ.ดร. Fotoula Nikolopoulou จาก Dental School, National and Kapodistrian University of Athens ประเทศ Greece